เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร พ.ศ. 2565
คำถาม : หลักสูตรร่วมผลิตกับบริษัทเอกชนที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ไหม
คำตอบ : ได้ แต่บริษัทต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาฯ
คำถาม : มคอ.1 ถูกยกเลิกทั้งหมดเลยหรือไม่
คำตอบ : หลักสูตรที่มีสภาวิชาชีพกำกับ หากสภาวิชาชีพนั้นๆ ยื่นเรื่องขอใช้ มคอ. 1 หลักสูตรที่เกี่ยวข้อง ยังคงต้องดำเนินการ ตามมาตรฐานวิชาชีพนั้นๆ อยู่เช่นเดิม ซึ่งหลักสูตรจะต้องติดตามข้อมูลจากสภาวิชาชีพของตนเอง
คำถาม : คนนอกเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสูตรได้ไหม
คำตอบ : ได้ กรณีมีการตกลงร่วมผลิต
คำถาม : อาจารย์พิเศษ ที่สอนเกินร้อยละ 50 ต้องขออนุมัติสภาฯ หรือไม่
คำตอบ : ไม่ต้อง แต่ต้องมีอาจารย์ประจำร่วมกระบวนการเรียนการสอน
คำถาม : การจัดทำรายละเอียดหลักสูตร สป.อว. มี Template
คำตอบ : มี ตาม https://drive.google.com/drive/folders/1qj52BS6vvjmb5gQilIpofj6oiCt_4Sii
คำถาม : การแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก ทำหน้าที่อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์/อาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ ผลงานยังต้องตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ/ระดับนานาชาติตามเงื่อนไขเดิมหรือไม่ และต้องเสนอสป.อว.อีกหรือไม่
คำตอบ : มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนผลงาน ดังนี้
1. ระดับปริญญาโท ผลงานทางวิชาการ ระดับชาติ และ/หรือนานาชาติ ไม่น้อยกว่า 5 เรื่อง
2. ระดับปริญญาเอก ผลงานทางวิชาการ ระดับชาติ และ/หรือนานาชาติ ไม่น้อยกว่า 10 เรื่อง ทั้งนี้ หากไม่เป็นไปตามเกณฑ์ให้ผ่านความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัย โดยไม่ต้องแจ้ง สป.อว.

ประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร
คำถาม : การดำเนินงานด้านประกันคุณภาพระดับหลักสูตร
คำตอบ : 1. กรณีหลักสูตรที่ยังไม่ได้มีการปรับปรุง (หน้าเล่ม ก่อน พ.ศ.2566) ให้ประเมินตามระบบคุณภาพที่เลือกใช้ IQA ระบบนานาชาติอื่นๆ ตามเดิม แต่ถ้ามีการปรับปรุงเป็นฉบับใหม่แล้ว ให้เลือกประเมินตามระบบที่ระบุไว้ในเล่มหลักสูตร
2. กรณี หน้าเล่มหลักสูตร พ.ศ.2566 ให้ประเมินตามระบบที่ระบุไว้ในเล่มหลักสูตรยกเว้น ระบบ TUQA จะประเมินคุณภาพ ในปีการศึกษา 2568 เป็นปีแรก
3. กรณี มหาวิทยาลัยส่งแบบฟอร์มให้คณะ/ส่วนงานประเมินตนเองเบื้องต้น การกำกับมาตรฐาน เพื่อเป็นการกำกับหลักสูตรให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของ อว.

งานหลักสูตรและมาตรฐานการศึกษา
คำถาม : ข้อมูลเกี่ยวกับการสอบ Greats
คำตอบ : https://greats.tu.ac.th/
คำถาม : สอบถามการยื่นยกเว้นการเรียนด้วยผลสอบ Greats
คำตอบ : thammasatgened@gmail.com

ทุนศึกษาต่อระดับปริญญาเอกของอาจารย์
คำถาม : ระยะเวลาการได้รับทุน
คำตอบ : ได้รับทุนการศึกษาเป็นระยะที่หลักสูตรกำหนด ทั้งนี้ หากยังไม่สำเร็จการศึกษา สามารถขอขยายเวลาได้อีก 2 ครั้ง ๆ ละไม่เกิน 6 เดือน ภายในวงทุนที่เหลืออยู่
คำถาม : การชดใช้ทุน (กรณีเกณฑ์เก่า)
คำตอบ : ผู้รับทุนจะต้องกลับเข้าปฏิบัติราชการในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ทันทีเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าสองเท่าของระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา ในกรณีที่ไม่กลับมาปฏิบัติราชการไม่ว่าด้วยเหตุใดต้องชดใช้เงินเป็นจำนวนสองเท่าของเงินทุนการศึกษา เงินเดือน เงินเพิ่ม และเงินอื่นใดที่ผู้รับสัญญาหรือทางราชการได้จ่ายไปตลอดระยะเวลาที่ศึกษา
คำถาม : การชดใช้ทุน (ผู้รับทุนปี 2567 เป็นต้นไป)
คำตอบ : กรณีสำเร็จการศึกษา ผู้รับทุนจะต้องกลับเข้าปฏิบัติราชการในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ทันทีเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าสองเท่าของระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา ในกรณีที่ไม่กลับมาปฏิบัติราชการไม่ว่าด้วยเหตุใดต้องชดใช้เงินเป็นจำนวนสองเท่าของเงินทุนการศึกษา เงินเดือน เงินเพิ่ม และเงินอื่นใดที่ผู้รับสัญญาหรือทางราชการได้จ่ายไปตลอดระยะเวลาที่ศึกษา กรณีไม่สำเร็จการศึกษา ผู้รับทุนจะต้องกลับเข้าปฏิบัติราชการในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ทันทีเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าสองเท่าของระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา และต้องชดใช้เงินเป็นจำนวนเงินทุนการศึกษาที่ได้รับไปตลอดระยะเวลาที่ศึกษา
คำถาม : ค่าใช้จ่ายที่ผู้รับทุนจะได้รับ
คำตอบ : ทุนต่างประเทศ เบิกจ่ายได้ตามเกณฑ์ ก.พ. และค่าใช้จ่ายในการทำวิทยานิพนธ์ ไม่เกิน 300,000 บาท และค่านำเสนอผลงานวิชาการในต่างประเทศ ตามเกณฑ์กระทรวงการคลัง ทุนในประเทศ เบิกจ่ายได้รายละเอียดรายการวงเงิน และหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายเงินทุนในประเทศ

ทุนเพื่อการศึกษาในหลักสูตรระยะสั้น การเข้ารับการฝึกอบรม หรือการฝึกปฏิบัติงานในต่างประเทศ
คำถาม : คุณสมบัติของผู้รับทุน
คำตอบ : 1.เป็น อาจารย์ มธ.ที่ผ่านการประเมินทดลองงานครั้งที่ 2
2.ไม่อยู่ระหว่างลาศึกษาต่อ หรือไปปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการ หรือ ขอตัวไปช่วยราชการที่หน่วยงานอื่น
3.ไม่มีภาระผูกพันในการส่งผลงานทางวิชาการหรือผลงานด้านงานวิจัย ที่ได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัย
4.ไม่เคยได้รับทุนนี้ในปีก่อนหน้า
คำถาม : ประเภทของหลักสูตรที่จะได้รับทุน
คำตอบ : จะเป็นแบบ Onsite Online หรือ Hybrid ก็ได้ โดยเป็นหลักสูตรดังนี้
1.หลักสูตรที่เป็น Professional Certificate ไม่สามารถศึกษาได้ภายในประเทศ เกี่ยวช้องกับงานวิจัย หรือเป็นประโยชน์กับมหาวิทยาลัย
2.หลักสูตรที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการสอน การเรียนรู้รูปแบบใหม่ หรือการสอนที่พัฒนา Active Learning
3.หลักสูตรการสอน หรือการอบรม ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่ทำอยู่
4.หลักสูตร หรือ การฝึกอบรม หรือ ฝึกปฏิบัติงานอื่นใดที่คณะอนุกรรมการฯ พิจารณาแล้วว่าเป็นประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัย
5.ระยะเวลาต่อหลักสูตรต้องไม่น้อยกว่า 18 ชั่วโมง
6.ไม่เป็นหลักสูตรการศึกษาที่แฝงการท่องเที่ยว
คำถาม : วงเงินทุนที่จะได้รับ
คำตอบ : เหมาจ่ายไม่เกิน 200,000 บาท (ทั้งนี้ ผู้รับทุนออกค่าใช้จ่ายไปก่อน เมื่อสำเร็จการศึกษากลับมา นำเอกสารมาเบิกจ่าย ภายใน 30 วัน)
คำถาม : สมัครได้เมื่อไหร่
คำตอบ : ฝ่ายวิชาการกำหนดปฏิทินการรับทุนไว้ทั้งปี ซึ่งจะปรากฎในเอกสารประชาสัมพันธ์การรับสมัคร

การไปปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการ
คำถาม : คุณสมบัติผู้ที่จะขอไปปฏิบัติงานฯ
คำตอบ : 1. อายุไม่เกิน 57 ปี นับถึงวันยื่นคำขอสมบัติผู้ที่จะขอไปปฏิบัติงานฯ
2. ปฏิบัติงานในตำแหน่งอาจารย์ประจำไม่น้อยกว่า 6 ปี นับถึงวันยื่นคำขอ
3. ปฏิบัติงานด้วยดีมีความประพฤติเรียบร้อย และไม่อยู่ในระหว่างการถูกสอบสวนทางวินัย
คำถาม : หลักเกณฑ์การขอไปปฏิบัติงานฯ
คำตอบ : 1. งานเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการ เป็นประโยชน์ต่อการสอน วิจัย หรือเป็นประโยชน์ทางวิชาการที่ผู้ขอรับผิดชอบอยู่
2. การให้บุคคลใดไปปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการไม่ทำให้เกิดผลเสียหายต่องานประจำของต้นสังกัด
3. จำนวนไม่เกินร้อยละ 10 ของจำนวนอาจารย์ประจำของต้นสังกัด
4. ครั้งแรกอนุมัติได้ไม่เกิน 12 เดือน ครั้งต่อไปไม่เกิน 6 เดือน หรือ 12 เดือน หากมีระยะเวลานับจากปฏิบัติงานปกติไม่น้อยกว่า 3 ปี หรือ 6 ปี ตามลำดับ
คำถาม : ข้อกำหนดที่ผู้ไปปฏิบัติงานฯ ต้องปฏิบัติตาม
คำตอบ : 1. รายงานความก้าวหน้าทุก 3 เดือน เพื่อเสนอกรรมการประจำหน่วยงานพิจารณา เมื่องานเสร็จสมบูรณ์ให้ส่งผลงานภายใน 1 เดือน
2. หากไม่สามารถดำเนินการตามโครงการ ด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม ให้รีบขอกลับมาปฏิบัติงานทันที
3. ต้องกลับเข้าปฏิบัติงานทันที หากหน่วยงานต้นสังกัดมีความจำเป็น และสั่งให้กลับมาปฏิบัติงาน

โครงการอบรมสำหรับอาจารย์
คำถาม : ติดตามข่าวประชาสัมพันธ์การจัดโครงการอบรมสำหรับอาจารย์ได้จากช่องทางใดบ้าง
คำตอบ : เว็บไซต์กองบริหารงานวิชาการ facebook ฝ่ายวิชาการ มธ. กลุ่มไลน์ หรือ E-mail

ทุนผู้ช่วยสอน
คำถาม : วัตถุประสงค์ของการให้ทุน
คำตอบ : เพื่อเป็นทุนสนับสนุนสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาโท และระดับปริญญาเอกให้มีประสบการณ์ในการช่วยสอน ระยะเวลาในการให้ทุน 1 ภาคการศึกษา ทุนละ 20,000 บาทต่อภาคการศึกษา เบิกจ่ายเงินทุน 2 รอบๆ ละ 10,000 บาท
คำถาม : ปิดรับสมัครเมื่อไร
คำตอบ : หมดเขตส่งเอกสารการสมัครภายในระยะเวลาตามกำหนดในประกาศ โดยสามารถติดตามรายละเอียดและปฏิทินการดำเนินการได้ที่...
คำถาม : ส่งเอกสารการสมัครอย่างไร
คำตอบ : - รวบรวมแบบฟอร์มและเอกสารหลักฐานการสมัครทั้งหมดเป็น 1 ไฟล์ในรูปแบบ PDF
- หน่วยงานต้นสังกัดตรวจสอบและผู้รวบรวมเอกสาร และส่งมาที่ innoedu.thammasat@tu.ac.th
- ส่งเอกสารการสมัครในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เพียงช่องทางเดียว โดยไม่ต้องส่งเป็นบันทึกในรูปแบบกระดาษ

ทุน e-Learning
คำถาม : การเรียนวิชา e-Learning เพื่อนำมาเทียบโอนวุฒิปริญญาตรีต้องทำอย่างไร
คำตอบ : 1.การเทียบโอนรายวิชาและหน่วยกิต เป็นอำนาจของคณะต่างๆ ที่จะพิจารณาว่า วิชาที่ผู้เรียนได้เรียนมา เทียบโอนรายวิชาและหน่วยกิตได้เป็นรายวิชาใด ของหลักสูตรใด ของคณะฯ นั้นๆ
2.ผู้เรียนวิชา e-Learning ที่จะนำวิชาไปขอเทียบโอนรายวิชา/หน่วยกิต ต้องมีสถานะเป็นนักศึกษาของคณะใด/คณะหนึ่งแล้ว จึงจะยื่นคำร้องขอเทียบโอนรายวิชา/หน่วยกิตให้คณะต้นสังกัดพิจารณาได้
3.ผู้เรียนวิชา e-Learning ที่เป็นบุคคลภายนอก เมื่อลงทะเบียนเรียนหลายวิชา และศึกษาสำเร็จได้รับใบประกาศนียบัตรแต่ละวิชาแล้ว จะมีสถานะเรียนเพื่อเก็บสะสมรายวิชาเป็นคลังวิชา เพื่อเพิ่มเติมความรู้ตามความสนใจ เมื่อประสงค์จะเข้าศึกษาหลักสูตรใด หลักสูตรหนึ่ง ของคณะใดเพื่อให้ได้รับปริญญา ต้องสมัครเข้าศึกษาคณะนั้นๆ ตามช่องทางการรับสมัครที่แต่ละคณะกำหนดไว้
คำถาม : วิชา e-Learning โดยทั่วไป จำเป็นต้องเป็นวิชาที่บรรจุอยู่ในหลักสูตรระดับปริญญาตรีหรือระดับปริญญาโทหรือไม่
คำตอบ : ไม่จำเป็น แต่หากเป็นหลักสูตรแบบให้ปริญญาแก่ผู้เรียน วิชาที่มีการจัดการเรียนการสอนแบบ e-Learning ต้องเป็นวิชาที่บรรจุในหลักสูตร

ทุนตำรา
คำถาม : เอกสารประกอบการสมัครขอทุนสนับสนุนการเขียนตำราใช้อะไรบ้าง
คำตอบ : 1.ใบสมัครขอรับทุน ตามแบบฟอร์มที่มหาวิทยาลัยกำหนด
2.ต้นฉบับตำราที่เขียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว
3.รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิประเมินคุณภาพตำรา จำนวนอย่างน้อย ตำราเรื่องละ 2 รายชื่อ ซึ่งเสนอโดยคณะต้นสังกัดผู้สมัครขอรับทุน
คำถาม : ผู้สมัครขอรับทุนเขียนตำรา สามารถยื่นใบสมัครขอรับทุนได้โดยตนเอง โดยไม่ต้องผ่านคณะต้นสังกัดได้หรือไม่
คำตอบ : ไม่ได้ เนื่องจากคณะต้นสังกัดเป็นผู้เสนอรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิประเมินคุณภาพตำราของผู้สมัครแต่ละราย ดังนั้น หากผู้สมัครไม่ยื่นเอกสารให้คณะต้นสังกัดทราบว่า ตนประสงค์จะสมัครขอรับทุนเขียนตำรา เอกสารการสมัครจะไม่ครบถ้วนตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
คำถาม : การเสนอรายชื่อผู้ประเมินคุณภาพตำรา คณะเสนอรายชื่อมากกว่า 2 รายชื่อ ได้หรือไม่
คำตอบ : ได้ ทั้งนี้ เพื่อสำรองรายชื่อไว้ กรณีผู้ทรงคุณวุฒิท่านใด ท่านหนึ่งไม่สามารถรับประเมินคุณภาพตำราได้ เนื่องจากติดภารกิจอื่นใด ผู้ทรงคุณวุฒิที่เหลือจะเป็นทางเลือกให้จำนวนผู้ทรงคุณวุฒิประเมินคุณภาพตำราครบถ้วนตามเงื่อนไขการรับทุนตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
คำถาม : ต้นฉบับตำรา ที่ผู้สมัครยื่นประกอบการสมัคร ต้องเข้าเล่มสวยงามแบบมีสันปก/หน้กปกกระดาษอาร์ตมันในรูปแบบเหมือนสำนักพิมพ์ตีพิมพ์หรือไม่
คำตอบ : ไม่กำหนดรูปแบบรูปเล่มของต้นฉบับตำรา ขอให้ผู้สมัครคำนึงถึงลักษณะรูปเล่มที่ผู้ทรงคุณวุฒิสามารถเปิดตรวจทานเนื้อหาตำราได้สะดวก สามารถใช้ได้
คำถาม : กำหนดขนาดตัวอักษรหรือรูปแบบตัวอักษรในการพิมพ์ต้นฉบับตำราหรือไม่
คำตอบ : ไม่กำหนด

ทุุนส่งเสริมการวิจัย ความเป็นนานาชาติ และการศึกษา
คำถาม : ทุนส่งเสริมการวิจัยฯ เป็นทุนลักษณะใด
คำตอบ : เป็นการให้ทุนค่าเล่าเรียน โดยการยกเว้นค่าหน่วยกิตและค่าธรรมเนียมการศึกษา ทั้งนี้ นักศึกษาต้องจ่ายค่าประกันอุบัติเหตุ ค่ารักษาสถานภาพ และค่าขึ้นทะเบียนบัณฑิตเอง
คำถาม : ใครมีสิทธิ์ได้รับทุนนี้บ้าง
คำตอบ : คณะคัดเลือกนักศึกษาจาก 3 กลุ่มได้แก่ นศ.ปริญญาเอก นศ.ต่างชาติ และ นศ.ในระดับปริญญาตรี / โท ร้อยละ 1 ของจำนวนนักศึกษาทั้งหมด
คำถาม : นักศึกษาได้รับทุนอื่นในมหาวิทยาลัยแล้ว รับทุนนี้ได้หรือไม่
คำตอบ : นักศึกษาที่ได้รับทุนนี้ ต้องไม่ได้รับทุนที่ช่วยเหลือหน่วยกิตจากหน่วยงานอื่น หรือจากมหาวิทยาลัย ดังนั้นนักศึกษาที่ได้รับทุน TISR หรือ ทุนปริญญาเอกการวิจัย สามารถรับทุนนี้ได้ โดยคณะต้องส่งชื่อมารับทุนส่งเสริมการวิจัยฯต่อฝ่ายวิชาการ

ระบบการประเมินการสอนออนไลน์
คำถาม : ไม่สามารถเข้าประเมินได้ ไม่มีลิงก์ให้เข้าประเมิน
คำตอบ : ติดต่อ innoedu.thammasat@tu.ac.th แจ้งรหัสวิชาและภาคการศึกษาที่จะเข้าประเมิน
คำถาม : ไม่แสดงรายวิชาที่สามารถเข้าประเมินได้
คำตอบ : เลยระยะเวลาการเข้าประเมิน ทั้งนี้ สามารถติดต่อคณะต้นสังกัดเพื่อขอขยายระยะเวลาการประเมิน

โครงการ 88 SANDBOX
คำถาม : 88 SANDBOX คืออะไร
คำตอบ : โครงการ 88 SANDBOX: The Next Unicorn Platform มีเป้าหมายในการเป็น Ecosystem สตาร์ทอัพแห่งใหม่ให้กับประเทศไทย สำหรับคนรุ่นใหม่ที่สร้างไอเดียจากศูนย์สู่ความสำเร็จ ณ อุทยานการเรียนรู้ป๋วย 100 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต โดยมีพันธกิจหลักคือทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มการสร้างและส่งเสริมสตาร์ทอัพของประเทศไทยให้ก้าวไกลสู่ระดับโลก โดยส่งเสริมให้เป็นพื้นที่แห่งโอกาสให้กับคนทุกคน ที่ไม่แบ่งแยกด้วยเพศ วัย อาชีพ ศาสนา หรือการเมือง เยาวชนคนรุ่นใหม่ตั้งแต่นักเรียนในระดับมัธยม ไปจนถึงนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัย และบุคคลทั่วไป
คำถาม : สมัครเข้าร่วมโครงการได้อย่างไร
คำตอบ : สามารถสมัครผ่านทาง https://88sandbox.com/ หัวข้อ JOIN 88 SANDBOX